เมนู

กันด้วยเหตุหลายอย่าง. อเนกาการโวการนั้นได้แก่อะไร ? ได้แก่อสุภภาว-
นานุโยค. ซึ่งความหมั่นประกอบเนือง ๆ ในการเจริญอสุภกรรมฐาน มีกระ-
บวนการต่าง ๆ มากมายนั้น.
สองบทว่า อนุยุตฺตา วิหรนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ประกอบ
คือขวนขวายอยู่.
บทว่า อฏฺฏิยนฺติ ความว่า ย่อมเป็นผู้อืดอัด คือ มีดวามลำบาก
ด้วยกายนั้น.
บทว่า หรายนฺติ แปลว่า ย่อมระอา.
บทว่า ชิคุจฺฉนฺติ แปลว่า เป็นผู้เกิดความเกลียดชังขึ้นเอง.
บทว่า ทหโร แปลว่า เด็กรุ่นหนุ่น.
บทว่า ยุวา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม.
บทว่า มณฺฑนกชาติโย แปลว่า ผู้ชอบแต่งตัวเป็นปกติ.
สองบทว่า สีสํ นหาโต แปลว่า ผู้อาบน้ำพร้อมทั้งศีรษะ.
ในสองคำว่า ทหโร ยุวา นี้ท่านพระอุบาลีเถระแสดงความเป็นผู้
แรกเป็นหนุ่ม ด้วยคำว่า ทหระ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายในคราวแรกเป็นหนุ่ม
ย่อมมีปกติเป็นผู้ชอบแต่งตัวโดยพิเศษ. ท่านพระอุบาลีเถระ แสดงถึงเวลาขวน-
ขวายการแต่งตัวด้วยคำทั้งสองว่า สีสํ นหาโตนี้. แท้จริง แม้คนหนุ่มทำการ
งานบางอย่างแล้วมีร่างกายเศร้าหมอง ก็หาเป็นผู้ขวนขวายการแต่งตัวไม่. แต่
เขาอาบน้ำสระเกล้าเสร็จแล้วจึงตามประกอบการแต่งตัวทีเดียว ย่อมไม่ปรารถนา
แม้ที่จะเห็นของสกปรกมีซากงูเป็นต้น.

[พวกภิกษุฆ่าตัวเองและวานให้ผู้อื่นฆ่า]


ขณะนั้น บุรุษหนุ่มนั้น พึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชังด้วยซากงู
ซากสุนัขหรือซากศพมนุษย์อันคล้องอยู่ที่คอ คือมีบุคคลผู้เป็นข้าศึกบางคนนั่น

เองนำมาผูกไว้ คือสวมไว้ที่คอ ฉันใด ภิกษุเหล่านั้น ก็อึดอัด ระอา เกลียด
ชังด้วยร่างกายของตน ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ใคร่จะสละร่างกายของตนเสีย
เพราะเป็นผู้ปราศจากความรักด้วยอำนาจความพอใจ ดุจบุรุษคนนั้นผู้ใคร่จะ
สละทิ้งซากศพนั้นเสีย ฉะนั้น จึงถือเอาศัสตรา แล้วปลงชีวิตตนเองบ้าง
วานกันและกัน ให้ปลงชีวิตบ้าง ด้วยพูดอย่างนี้ว่า ท่านจงปลงกระผมเสียจาก
ชีวิต กระผมจะปลงท่านเสียจากชีวิต.
คำว่า มิคลัณฑิกะ ในสองบทว่า มิคลณฺฑิกมฺปิ สมณกุตฺตกํ
นี้เป็นชื่อของเขา.
บทว่า สมณกุตฺตโก ได้แก่ ผู้ทรงเพศสมณะ. ได้ยินว่ามิคลัณฑิกะ
นั้น โกนศีรษะไว้เพียงจุก นุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่ง พาดไว้บนไหล่
เข้าอาศัยวิหารนั้นแล เป็นอยู่โดยความเป็นคนกินเดน. ภิกษุทั้งหลายเข้าไปหา
มิคลัณฑิกะ ผู้ทรงเพศสมณะแม้นั้น แล้วกล่าวอย่างนั้น.
ศัพท์ว่า สาธุ เป็นนิบาต ลง ในอรรถว่าขอร้อง. โน เป็นทุติยา
วิภัตติ พหุวจนะ. มีคำอธิบายว่า พ่อคุณ ! ดีละ เธอจงช่วยปลงชีวิตพวกฉันที.
ก็บรรดาภิกษุเหล่านั่น ภิกษุผู้ เป็นอริยะไม่กระทำปาณาติบาต ไม่ชักชวนบุคคล
อื่น ทั้งไม่อนุญาตด้วย. ส่วนภิกษุผู้เป็นปุถุชน กระทำได้แทบทุกอย่าง.
บทว่า โลหตกํ แปลว่า เปื้อนเลือด. แม่น้ำที่เขาสมมติกันว่าเป็น
บุญของชาวโลก เรียกว่า วัคคุ ในคำว่า เยน วคฺคุมุทา นี้. ได้ยินว่า
แม้มิคลัณฑิกะนั้น ไปยังแม่น้ำนั้น ด้วยความสำคัญว่า จักลอยบาปในแม่น้ำนั้น.

[มิคลัณฑิกะฆ่าภิกษุแล้วเกิดความเสียใจ]


สองบทว่า อทุเทว กุกฺกุจฺจํ ความว่า ได้ยินว่า บรรดาภิกษุ
เหล่านั้น ภิกษุบางรูปไม่ได้ทำกายวิการ หรือวจีวิการ, ทั้งหมดทุกรูป มีสติ